หน้าแรกคู่มือหลอดไฟแอลอีดีความสว่างของหลอดไฟ LED กี่วัตต์สว่าง?

ความสว่างของหลอดไฟ LED กี่วัตต์สว่าง?

ความสว่างของหลอดไฟ LED ขึ้นอยู่กับอะไร ใช้กี่วัตต์ถึงจะสว่าง ดูได้จากอะไรบ้าง วันนี้ แสงไฟดอทคอม จะมาอธิบายวิธีการเลือกหลอดไฟ LED เพื่อให้ได้ความสว่างที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม
ความสว่างของหลอดไฟ LED ที่เหมาะสม

การเลือกหลอดไฟด้วยวัตต์ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมในการระบุความสว่างที่ต้องการ เนื่องด้วย หลอดไฟ LED เป็นเทคโนโลยีความสว่างที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน เราจําเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่ลูเมน (Lumen) แทน แต่ลูเมนคืออะไร? เราจะอธิบายว่าคุณสามารถใช้การแปลงลูเมนเป็นวัตต์เพื่อเลือกหลอดไฟ LED ที่เหมาะสมได้

วิธีการแปลงลูเมนเป็นวัตต์

เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าวัตต์ และ ค่าลูเมน ของหลอดไฟกันก่อน

วัตต์ (Watt) : เป็นตัวชี้วัดการใช้พลังงาน เมื่อเราจ่ายค่าไฟฟ้าเราจะจ่ายตามจํานวนวัตต์ที่เราใช้ เช่น หลอดไฟขนาด 60 วัตต์ ใช้พลังงาน 60 วัตต์ แต่เนื่องจากสมัยก่อนเราใช้หลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ มาเป็นเวลาหลายปี เราจึงจดจำและเชื่อมโยงความสว่างในระดับหนึ่งกับ 60 วัตต์ ของหลอดไส้ แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถทําเช่นนั้นได้อีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยี LED ผลิตแสงได้มากขึ้นในขณะที่ใช้วัตต์น้อยลง เราจึงจําเป็นต้องใช้ลูเมนในการระบุความสว่างแทน

ลูเมน (Lumen) : คือการวัดพลังงานแสงสว่างที่มองเห็นได้ ยิ่งค่าลูเมนสูงเท่าไหร่แสงก็จะยิ่งสว่างขึ้นเท่านั้น สำหรับสินค้าจากผู้ผลิตที่ได้ มาตรฐาน มอก. จะระบุค่าลูเมนที่ถูกต้องไว้ที่กล่องสินค้า เพื่อระบุค่าความสว่างของหลอดไฟนั้นๆ โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดผลิตลูเมนจํานวนเท่าใด เราจะเห็นตัวเลขค่าลูเมนเหล่านี้บนฉลากสินค้า ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสว่างของแสงที่พบใน หลอดไฟ LED อาจต้องใช้เวลาสักครู่ในการทําความคุ้นเคยกับการใช้ลูเมนแทนวัตต์ แต่สิ่งสําคัญคือต้องเลือกแสงที่สว่างและประหยัดพลังงานที่สุด

ประสิทธิภาพการส่องสว่าง

ตอนนี้เราเข้าใจวัตต์และลูเมนแล้ว เราสามารถใช้ทั้งสองค่านี้ เพื่อหาลูเมนต่อวัตต์ นี่คือวิธีการวัดว่าการใช้พลังงาน (วัตต์) ของหลอดไฟ แปลงเป็นแสงสว่าง (ลูเมน) ได้ดีเพียงใด เทคโนโลยีเก่าของหลอดไส้ทังสเตนมีประสิทธิภาพเพียงประมาณ 15 ลูเมน/วัตต์ ขึ้นอยู่กับประเภทหลอดไฟและผู้ผลิต ส่วนเทคโนโลยี LED มักจะผลิตความสว่างได้ 75 – 110 ลูเมน/วัตต์ ดังนั้นโดยทั่วไปหลอดไฟ LED มีประสิทธิภาพในการผลิตแสงมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า ดังนั้นเราสามารถใช้อัตราส่วน 7:1 เป็นแนวทางคร่าวๆ เมื่อเลือกหลอดไฟ LED เพื่อแทนที่หลอดไส้ได้

หลอดไฟ LED มีประสิทธิภาพในการผลิตแสงมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า

ตัวอย่าง เช่น หากคุณต้องการเปลี่ยนจากหลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ เป็น หลอดไฟ LED ที่มีความสว่างเทียบเท่ากัน เพียงใช้อัตราส่วน 7:1 เป็นตัวกำหนด โดยการหาร 60 วัตต์ ด้วย 7 ก็จะได้ค่าประมาณ 8 – 9 วัตต์ ซึ่งใช้พลังงงานน้อยกว่ากันอย่างมากแต่ให้ความสว่างเท่ากันหรือมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะตรวจสอบฉลากสินค้าจากผู้ผลิตที่ผ่านมาตรฐาน มอก. เพื่อหลีกเลี่ยงการระบุค่าลูเมนที่หลอกลวงไม่ตรงตามสเปค โปรดทราบว่า หลอดไฟ LED และ โคมไฟ LED ที่เราคัดสรรมานั้นมีระบุค่าต่างๆ ที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ทุกรุ่น ทําให้การเปลี่ยนไปใช้ไฟ LED เป็นเรื่องง่าย และได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามสเปคที่ต้องการ

LED เทียบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับแสงจากหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ได้รับการขนานนามว่าประหยัดพลังงาน ใช้งานได้ยาวนานกว่า และเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการส่องสว่างพื้นที่ขนาดใหญ่ในสมัยนั้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากไดโอดเปล่งแสง LED มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเหตุผลที่ดีกว่าในการเปลี่ยนมาใช้แสงที่ทันสมัยนี้ในปัจจุบัน

หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเส้น และหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบขด คืออะไร

หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นการคายประจุความเข้มสูง โดยผลิตแสงผ่านการปล่อยก๊าซชนิดหนึ่ง หลอดฟลูออเรสเซนต์มักประกอบด้วยหลอดแก้วด้านนอกที่ห่อหุ้มหลอดอาร์คที่บางกว่าไว้ภายในด้วยการเคลือบฟลูออเรสเซนต์ ภายในหลอดอาร์คนี้จะมีก๊าซปรอทเฉื่อยอยู่ เมื่อประจุไฟฟ้าถูกส่งไปยังหลอดอาร์คมันจะกระตุ้นก๊าซปรอท และปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เมื่อรังสียูวีทําปฏิกิริยากับสารเคลือบฟลูออเรสเซนต์มันจะเปล่งแสงออกมา หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเส้นมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไปในบ้านเรามักมีความยาว 24 – 48 นิ้ว หรือ 60 – 120 ซม.

หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบขด

หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบขด CFL ซึ่งย่อมาจาก Compact Fluorescent Light เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์มาตรฐานรุ่นเล็กกว่า หรือที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่าหลอดประหยัดไฟ, หลอดตะเกียบ, หลอดทวิตเตอร์ หรือหลอดเกลียวขด หลอด CFLs เป็นการต่อยอดมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเส้น โดยถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนหลอดที่ใช้กับโคมไฟที่ออกแบบมาสำหรับหลอดไส้ให้พอดีกัน เพื่อประหยัดพลังงาน

หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบขด CFL ซึ่งย่อมาจาก Compact Fluorescent Light
หลอด LED กับหลอดฟลูออเรสเซนต์อะไรประหยัดกว่ากัน

เมื่อพูดถึงการติดตั้งหลอดแบบเก่าหรือติดตั้งหลอดแบบใหม่ การประหยัดต้นทุนมักเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด ผลกระทบด้านต้นทุนโดยรวมจําเป็นต้องคํานึงถึง ต้นทุนการใช้พลังงานโดยรวม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบํารุงรักษา ลองมาดูกันว่าหลอด LED กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ต่างกันอย่างไรเมื่อพูดถึงการประหยัดต้นทุน

การประหยัดพลังงาน

แม้ว่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าหลอดไส้ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรจะดีไปกว่าหลอด LED เมื่อพูดถึงการประหยัดพลังงาน หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นการเปล่งแสงแบบรอบทิศทาง ซึ่งหมายความว่ามันเปล่งแสงออกมา 360 องศารอบๆ หลอด ส่วนหลอด LED Tube ปัจจุบันได้พัฒนาจนสามารถเปล่งแสงออกมาในรัศมี (Beam Angle) ประมาณ 220 – 330 องศา แล้วแต่รุ่น ซึ่งสูญเสียแสงน้อยกว่า

หลอดฟลูออเรสเซนต์ยังอาศัยความร้อนในการผลิตรังสียูวีจากก๊าซปรอท เมื่อแสงถูกปล่อยออกมาในลักษณะรอบทิศทาง นั้นหมายความว่าความร้อนถูกปล่อยออกมารอบหลอดด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรักษาระดับแสงให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหลอดไฟ LED ในทางกลับกันในการผลิตแสงของหลอด LED ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมากในขณะใช้งาน ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศของคุณ

นอกจากนี้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ยังต้องใช้เวลาในการจุดสตาร์ท แม้มีการพัฒนาหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ให้จุดสตาร์ทเร็วขึ้นด้วยบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังคงช้ากว่าในการเข้าถึงแสงสว่างสูงสุด แตกต่างกับหลอดไฟ LED จะส่องสว่างเต็มที่ทันทีเมื่อเปิด ซึ่งหมายความว่าพลังงานจะไม่สูญเปล่า เนื่องจากต้นทุนทางด้านแสงสว่างคิดเป็นเกือบ 40% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมดของคุณ ทุกวินาทีที่คุณสามารถลดการจ่ายไฟให้กับโคมไฟ หมายถึงเงินที่คุณประหยัดได้ หลอดไฟ LED ให้แสงเพิ่มขึ้นเกือบ 70% เมื่อใช้พลังงานในปริมาณเท่ากันกับหลอดฟลูออเรสเซนต์

ประหยัดค่าบํารุงรักษา

เมื่อพูดถึงการบํารุงรักษาหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอด LED จะชนะอีกครั้ง หลอดฟลูออเรสเซนต์มักมีอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ต้องอาศัยบัลลาสต์และสตาร์เตอร์หรือแม้แต่บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ หากส่วนประกอบใดเสียหายในทางใดทางหนึ่งหลอดไฟจะไม่ทํางาน แม้หากส่วนประกอบใดๆ ไม่ได้รับความเสียหาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ก็จะเสื่อมสภาพของแสงลงเรื่อยๆ เมื่อหลอดเสื่อมลงปลายหลอดจะดําและแสงจะกะพริบ

ส่วนหลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานระหว่าง 10,000 ถึง 50,000 ชั่วโมง โดยประมาณแล้วแต่รุ่น ทําจากวัสดุที่แข็งแรงกว่า และการประกอบโซลิดสเตตไดโอดที่เรียบง่าย หลอดไฟ LED มีความทนทานสูง และสามารถทนต่อการสั่นสะเทือนได้มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ สุดท้ายไม่ว่าบัลลาสต์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะเสียหายหรือไม่ก็ตาม คุณจะต้องเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์บ่อยกว่าที่คุณจะต้องเปลี่ยน LED ถึง 3.5 เท่า

คุณภาพของแสง LED กับหลอดฟลูออเรสเซนต์

เราได้พูดคุยกันแล้วว่าไฟ LED มีความทนทานเพียงใดเมื่อเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ อย่างไรก็ตามสเปกตรัม (Spectrum) ของแสงที่มีอยู่จากไฟ LED นั้นเกินกว่าที่มีอยู่ผ่านหลอดฟลูออเรสเซนต์ เนื่องจากการออกแบบโดยธรรมชาติสีทั้งหมดจึงแสดงผ่านไดโอดที่ใช้ใน LED สิ่งนี้ช่วยให้สามารถผลิตเฉดสีทั้งหมด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยระหว่างแสงสีขาวและแสงธรรมชาติ อย่างไรก็ตามแสงฟลูออเรสเซนต์ใช้เฉดสีฟ้า, สีเขียว และสีแดง สิ่งนี้ทําให้แสงมีความรู้สึกไม่สมจริงอย่างมาก และเป็นที่ทราบกันดีว่าเพิ่มโอกาสในการปวดหัวและปัญหาสายตาได้ นอกจากนี้ยังทำให้สีของวัตถุบิดเบือนได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณที่เกี่ยวข้องกับเฉดสีได้

แสงขาวประกอบด้วยแสงสีที่รวมกันเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum)
บทสรุป

ความสว่างของหลอดไฟ LED หมายความว่าอย่างไรสําหรับองค์กรของคุณ? ประเด็นของเราก็คือ หลอดไฟ LED ให้ประสิทธิภาพการส่องสว่างที่ดีกว่าหลอดไส้แบบดั้งเดิมและหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอด CFL นอกจากประสิทธิภาพการส่องสว่างที่ดีขึ้นแล้ว ไฟ LED ยังมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นนี้แปลว่าค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาและการเปลี่ยนทดแทนลดลงเมื่อพิจารณาจากระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี นอกจากนี้การเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มอก. ไม่เพียงแต่คุณจะได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามสเปคแล้ว ยังมีการรับประกันสินค้าหากสินค้ามีปัญหาสามารถเครมเปลี่ยนได้ทันที

Summer Deals ลดเพิ่ม 17%รายละเอียด